วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Blog สะสมผลงาน




นาย.กรกต  ลาดโพธิ์
ห้อง5/6 เลขที่11
วัน18 เดือน  กรกฏคม  ปี2540

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

โครงงาน
เรื่องน้ำกระเจี๊ยบ

จัดทำโดย
นาย กรกต ลาดโพธิ์ เลขที11

นาย พรประสิทธิ์ กุลโชติ เลขที่17

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่5/6

 เสมอ

คุณครู อนุสรณ์ ฤกษ์บางพลัด


ลักษณะของกระเจี๊ยบแดง
    ต้นกระเจี๊ยบแดง จัดเป็นไม้พุ่มมีความสูงประมาณ 50-180 เซนติเมตร มีอยู่หลายสายพันธุ์ ลำต้นและกิ่งก้านมีสีม่วงแดง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด
ต้นกระเจี๊ยบแดง
    ใบกระเจี๊ยบแดง มีใบเป็นใบเดี่ยว ใบมีหลายลักษณะ ลักษณะคล้ายรูปฝ่ามือ 3 แฉก หรือ 5 แฉก ใบเว้าลึกหรือเรียบ หรือใบเป็นรูปรีแหลม หรือรูปเรียวแหลม ขอบใบมีจักเป็นฟันเลื่อย ใบมีความกว้างและความยาวใกล้เคียงกันประมาณ 8-15 เซนติเมตร และก้านใบมีความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร
ใบกระเจี๊ยบแดง
    ดอกกระเจี๊ยบแดง ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกตามซอกใบ มีกลีบดองสีชมพูหรือสีเหลือง บริเวณกลางดอกจะมีสีเข้มกว่าคือสีม่วงแดง ดอกมีเกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ก้านดอกสั้น มีริ้วประดับเรียวยาวปลายแหลมมี 8-12 กลีบ กลีบเลี้ยงจะแผ่ขยายติดกันออกหุ้มเมล็ดไว้มีสีแดงเข้มและหักง่าย เมือดอกบานเต็มที่จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร
ดอกกระเจี๊ยบแดง


กลีบดอกกระเจี๊ยบแดง


    ผลกระเจี๊ยบแดง ลักษณะของผลเป็นรูปรีมีปลายแหลม ผลมีความยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่จะแห้งแตกเป็น 5 แฉก ในผลมีเมล็ดสีน้ำตาล ลักษณะคล้ายรูปไตอยู่จำนวนมากประมาณ 30-35 เมล็ดต่อผล และผลยังมีกลีบเลี้ยงหนาสีแดงฉ่ำน้ำหุ้มผลอยู่ เราจะเรียกส่วนนี้ว่ากลีบกระเจี๊ยบหรือกลีบรองดอก (Calyx) หรือที่คนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นดอกกระเจี๊ยบนั่นเอง
กลีบกระเจี๊ยบแดง
ลักษณะกระเจี๊ยบแดงรูปผลกระเจี๊ยบแดง
กระเจี๊ยบแดงแห้ง
สรรพคุณของกระเจี๊ยบแดง

    กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลือที่ผล ใช้เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และในการช่วยลดน้ำหนัก โดยมีการทดลองกับกระต่ายที่มีไขมันสูง แล้วพบว่าระดับไครกลีเซอไรด์คอเลสเตอรอล และระดับไขมันเลว (LDL) ลดลง และมีปริมาณของไขมันชนิดดี (HDL) เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ความรุนแรงของการอุดตันหลอดเลือดแดงใหญ่จากหัวใจก็น้อยลงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัดกระเจี๊ยบแดงอีกด้วย (ผล,เมล็ด,น้ำกระเจี๊ยบแดง)
    สรรพคุณของดอกกระเจี๊ยบแดง ช่วยละลายไขมันในเส้นเลือด (ดอก)
    เมล็ด ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง (เมล็ด,น้ำกระเจี๊ยบแดง,ยอดและใบ)




    ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
    ช่วยรักษาโรคเบาหวาน (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
    ช่วยลดความดันโลหิต โดยไม่มีผลร้ายแต่อย่างใด โดยมีรายงานการวิจัยทางคลินิกพบว่าในวันที่ 12 หลังผู้ป่วยได้รับชาชงกระเจี๊ยบแดงทุกวัน ค่าความดันโลหิตเมื่อหัวใจบีบตัวและคลายตัวลดลง 11.2% และ 10.7% ตามลำดับเมื่อเทียบกับวันแรก และ 3 วันหลังจากหยุดดื่มชาชงความความดันโลหิตทั้งสองค่าก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
    สรรพคุณกระเจี๊ยบแดง เมล็ดช่วยบำรุงโลหิต (เมล็ด)
    ช่วยแก้เส้นเลือดตีบตัน ช่วยรักษาเส้นเลือดให้แข็งแรงและอ่อนนิ่มยืดหยุ่นได้ดี (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
    น้ำกระเจี๊ยบช่วยทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
    สรรพคุณของดอกกระเจี๊ยบแดง ช่วยรักษาโรคเส้นเลือดแข็งเปราะได้เป็นอย่างดี (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
    ในอียิปต์มีการใช้ทั้งต้นของกระเจี๊ยบแดงนำมาต้มกินเพื่อเป็นยารักษาโรคหัวใจและโรคประสาท (ทั้งต้น)
    ช่วยแก้อาการคอแห้ง กระหายน้ำ (น้ำกระเจี๊ยบแดง,ผล)
    น้ำกระเจี๊ยบ สรรพคุณช่วยแก้อาการร้อนใน (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
    ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
    ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ช่วยป้องกันหวัด เนื่องจากกระเจี๊ยบแดงมีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งเป็นสารสีแดงในกลุ่มเดียวกับที่พบในผลไม้อย่างบลูเบอร์รี่ แต่กระเจี๊ยบแดงจะมีสารชนิดนี้มากกว่าบลูเบอร์รี่ถึง 50%
    กระเจี๊ยบแดง สรรพคุณช่วยลดไข้ (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
    ดอกกระเจี๊ยบแดง สรรพคุณช่วยแก้อาการไอ (น้ำกระเจี๊ยบแดง,ใบ)
    ใบ ใช้เป็นยากัดเสมหะ ขับเมือกมันในลำคอ ให้ลงสู่ทวารหนัก (ใบ,ดอก)
    ช่วยรักษาและป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน เนื่องจากมีวิตามินซีในปริมาณที่สูงอยู่พอสมควร (น้ำกระเจี๊ยบ)
    ช่วยในการย่อยอาหาร ใช้เป็นยาระบาย ช่วยหล่อลื่นลำไส้ ทำให้อุจจาระนิ่มขึ้น (น้ำกระเจี๊ยบ,เมล็ด,ยอดและใบ)
    ในอียิปต์ มีการใช้ทั้งต้นนำมาต้นกินเป็นยาลดน้ำหนักเนื่องจากเป็นยาระบาย และยังช่วยฆ่าเชื้อในลำไส้ได้อีกด้วย (ทั้งต้น)
    ช่วยรักษาโรคกระเพาะ และลำไส้อักเสบ ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาบดเป็นผง ใช้รับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ แล้วดื่มน้ำตามวันละ 3-4 ครั้ง (ผล)
    ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร (ผล)
    ใบกระเจี๊ยบแดง สรรพคุณช่วยแก้โรคพยาธิตัวจี๊ด หรือจะใช้ผลอ่อนนำต้มรับประทานติดต่อกัน 5-8 วัน หรือจะใช้ร่วมกับผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ หรือจะใช้ทั้งต้นใส่หม้อต้มกับน้ำ 3 ส่วน เคี่ยวไฟจนงวดให้เหลือ 1 ส่วน แล้วผสมกับน้ำผึ้งกึ่งหนึ่ง ใช้รับประทานวันละ 3 เวลา หรือจะรับประทานน้ำยาเปล่าๆ ก็ได้จนจนหมดน้ำยา (ใบ,ผล,ทั้งต้น)
    น้ำกระเจี๊ยบมีฤทธิ์ช่วยขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันได้อีกทางหนึ่ง โดยมีรายงานวิจัยทางคลินิกว่า เมื่อให้ผู้ป่วยดื่มผงกระเจี๊ยบขนาด 3 กรัม ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย ดื่มวันละ 3 ครั้ง นาน 7 วัน พบว่าได้ผลดีในการขับปัสสาวะ (น้ำกระเจี๊ยบแดง,เมล็ด,ยอดและใบ)
    ช่วยรักษาโรคทางเดินปัสสาวะ นิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะ ลดอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบมีอาการปวดแสบ โดยใช้กระเจี๊ยบแห้งบดเป็นผงประมาณ 3 กรัม นำมาชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย ใช้ดื่มวันละ 3 ครั้ง ประมาณ 7 วัน หรือจนกว่าจะหาย ซึ่งจากรายงานการวิจับพบว่าผู้ป่วยที่ดื่มน้ำกระเจี๊ยบแดงขนาด 3 กรัม ชงกับน้ำเดือด 1 แก้ว ดื่มวันละ 3 ครั้ง เป็นระยะเวลา 1 ปี พบว่าผู้ป่วยกว่า 80% มีปัสสาวะที่ใสขึ้นกว่าเดิม และยังพบว่าปัสสาวะมีความกรดมากขึ้น จึงช่วยในการฆ่าเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้เป็นอย่างดี (น้ำกระเจี๊ยบแดง,เมล็ด)
    ช่วยแก้อาการขัดเบา โดยใช้กลีบเลี้ยงของผลหรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง นำมาตากแห้งแล้วบดให้เป็นผง นำมาใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา (ประมาณ 3 กรัม) ใช้ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (ประมาณ 250 มิลลิลิตร) แล้วนำมาเฉพาะน้ำสีแดงใส วันละ 3 ครั้ง ดื่มติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการจะดีขึ้นและหายไป (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
    ช่วยป้องกันโรคต่อมลูกหมากโต (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
    ช่วยเพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ และช่วยป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลาย (น้ำกระเจี๊ยบแดง,เมล็ด)
    สรรพคุณดอกกระเจี๊ยบแดง ช่วยรักษาไตพิการ (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
    กระเจี๊ยบแดง สรรพคุณทางยาเมล็ดช่วยแก้ดีพิการ (เมล็ด)
    กระเจี๊ยบแดงมีฤทธิ์ต้านการเกิดพิษต่อตับ และช่วยป้องกันตับจากการถูกทำลายจากสารพิษ โดยมีงานวิจัยในสัตว์ทดลองพบว่าสารสกัดด้วยน้ำ (Anthocyanins) และสาร Protocatechuic Acid ของกระเจี๊ยบแดง สามารถช่วยลดความเป็นพิษต่อตับจากสารพิษได้หลายชนิด (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
    ใบใช้ตำพอกฝี หรือใช้ต้มน้ำเพื่อใช้ล้างแผลได้ (ใบ)
    ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของกระเจี๊ยบแดง ช่วยลดอาการบวม ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งเชื้อราอะฟลาท็อกซินไวรัสเริม ยับยั้งเนื้องอก ช่วยขับกรดยูริก คล้ายกล้ามเนื้อเรียบ และลดความเจ็บปวด
    สารสกัดจากลีบดอกของกระเจี๊ยบแดงมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิง จึงเชื่อว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อสตรีวัยทองไม่มากก็น้อย (กลีบดอก)


    ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง โดยสารแอนโทไซยานินจากกระเจี๊ยบมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งออกซิเดชั่นของไขมันเลส และยับยั้งกายตายของมาโครฟาจ โดยมีสาร Dp3-Sam ซึ่งเป็นแอนโทไซยานินชนิดหนึ่งที่มีฤทธิ์ช่วยกำจัดเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวในห้องทดลองได้ จึงมีผลในการช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งและอาจช่วยชะลอการลุกลามของมะเร็งบางชนิดได้ (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
ประโยชน์ของกระเจี๊ยบแดง
    กระเจี๊ยบมีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) และมีสารโพลีฟีนอล ซึ่งได้แก่ Protocatechuic Acid ที่มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยชะลอความแก่ และช่วยให้เส้นเลือดอ่อนนิ่มได้
    กระเจี๊ยบใช้ทำเป็นน้ำดื่มที่ช่วยทำให้ร่างกายสดชื่น เนื่องจากมีกรดซิตริกอยู่ด้วยน้ำกระเจี๊ยบแดง
    ใบอ่อนของกระเจี๊ยบใช้รับประทานเป็นผักได้ หรือจะนำมาใช้ทำแก้งส้มก็ได้ ให้รสเปรี้ยวกำลังดี และยังมีวิตามเอสูง (12,583 I.U. ต่อ 100 กรัม) ที่ช่วยบำรุงสายตาอีกด้วย
    กลีบเลี้ยงผลและกลีบดอกอุดมไปด้วยแคลเซียม ที่ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
    กระเจี๊ยบแดง จัดเป็นพืชส่งออกโดยนำไปใช้เป็นส่วนผสมสำคัญสำหรับ Herbal Tea และใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ใช้บริโภคภายในประเทศ ใช้ทำเป็นผลิตภัณฑ์ได้อย่างหลากหลาย เช่น ผลิตภัณฑ์ชาชง กระเจี๊ยบแดงอบแห้ง กระเจี๊ยบแดงแคปซูล เครื่องดื่มต่างๆ ใช้ในอุตสาหกรรมสีผสมอาหาร หรือใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ได้แก่ แยม เยลลี่ เบเกอรี่ ไอศกรีม ไวน์ น้ำหวาน ซอส เป็นต้น รวมไปถึงในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เช่น โลชั่น ครีมกระเจี๊ยบแดง เจลอาบน้ำ ครีมขัดผิว เป็นต้น
    น้ำต้มของดอกแห้งจะมีกรดผลไม้หรือ AHA อยู่หลายชนิดในปริมาณสูง จึงมีการนำมาผลิตเป็นเครื่องสำอางประเภทครีมหน้าใส
    เมนูดอกกระเจี๊ยบแดง เช่น แกงส้มดอกกระเจี๊ยบ ยำดอกกระเจี๊ยบ แยมดอกกระเจี๊ยบ ดอกกระเจี๊ยบแช่อิ่ม กระเจี๊ยบกวน ชากระเจี๊ยบแดง น้ำกระเจี๊ยบแดง เป็นต้น
    ในแอฟริกาใต้มีการน้ำมันจากเมล็ดเป็นยารักษาแผลให้อูฐ
    นอกจากนี้ลำต้นของกระเจี๊ยบแดงยังสามารถนำมาทำเป็นเชือกปอได้อีกด้วย

คุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบแดง (กลีบดอก) ต่อ 100 กรัม

    พลังงาน 49 กิโลแคลอรี่รูปกระเจี๊ยบแดง
    คาร์โบไฮเดรต 11.31 กรัม
    ไขมัน 0.64 กรัม
    โปรตีน 0.96 กรัม
    วิตามินเอ 14 ไมโครกรัม 2%
    วิตามินบี1 0.011 มิลลิกรัม 1%
    วิตามินบี2 0.028 มิลลิกรัม 2%
    วิตามินบี3 0.31 มิลลิกรัม 2%
    วิตามินซี 12 มิลลิกรัม 14%
    ธาตุแคลเซียม 215 มิลลิกรัม 22%
    ธาตุเหล็ก 1.48 มิลลิกรัม 11%
    ธาตุแมกนีเซียม 51 มิลลิกรัม 14%
    ธาตุฟอสฟอรัส 37 มิลลิกรัม 5%
    ธาตุโพแทสเซียม 208 มิลลิกรัม 4%
    ธาตุโซเดียม 6 มิลลิกรัม 0%

% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
โทษของกระเจี๊ยบแดง

    กระเจี๊ยบแดงอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ในผู้ป่วยบางราย เพราะมีฤทธิ์เป็นยาระบาย

    น้ำกระเจี๊ยบมีฤทธิ์เป็นยาขับปัสสาวะ แม่ว่าจะมีความเป็นพิษต่ำมาก แต่ก็ไม่ควรดื่มในปริมาณเข้มข้นและติดต่อกันนานๆ เพราะจะไม่เกิดผลดีต่อสุขภาพ


บันการแพทย์แผนไทย, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)ศูนย์วิจัยและการจัดการความรู้ทางพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒสำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ (HISO), มูลนิธิหมอชาวบ้าน (รศ.ดร.สุธาทิพ ภมรประวัติ)เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุขฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีฐานข้อมูลสมุนไพรแม่โจ้ (ชีวกโกมารภัจจ์) มหาวิทยาลัยแม้โจ้รายการสาระความรู้ทางการเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์)




    ใบใช้ตำพอกฝี หรือใช้ต้มน้ำเพื่อใช้ล้างแผลได้ (ใบ)
    ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของกระเจี๊ยบแดง ช่วยลดอาการบวม ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งเชื้อราอะฟลาท็อกซินไวรัสเริม ยับยั้งเนื้องอก ช่วยขับกรดยูริก คล้ายกล้ามเนื้อเรียบ และลดความเจ็บปวด
    สารสกัดจากลีบดอกของกระเจี๊ยบแดงมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิง จึงเชื่อว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อสตรีวัยทองไม่มากก็น้อย (กลีบดอก)

    ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง โดยสารแอนโทไซยานินจากกระเจี๊ยบมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งออกซิเดชั่นของไขมันเลส และยับยั้งกายตายของมาโครฟาจ โดยมีสาร Dp3-Sam ซึ่งเป็นแอนโทไซยานินชนิดหนึ่งที่มีฤทธิ์ช่วยกำจัดเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวในห้องทดลองได้ จึงมีผลในการช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งและอาจช่วยชะลอการลุกลามของมะเร็งบางชนิดได้ (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
วิธีทำน้ำกระเจี๊ยบแดงพุทราจีน

    ให้เตรียมกระเจี๊ยบประมาณ 1 กำมือ และพุทราจีน 1 กำมือ
    นำมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วบีบพุทราจีนให้แตก ให้รวมกันลงในภาชนะแล้วเติมน้ำเปล่า 2 ลิตร
    ต้มให้เดือดสักพักแล้วยกลง กรองเอาเนื้ออกให้เหลือแต่น้ำ
    เติมน้ำตาลเพื่อปรุงรส หรือจะใช้ใบหญ้าหวาน หรือลำไยตากแห้งแทนก็ได้ เพราะจะได้ความหวานจากธรรมชาติที่ไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง หรือไม่ต้องใส่เลยก็ได้เมื่อได้รสตามชอบใจแล้ว ก็ให้นำมาเก็บใส่ขวดแล้วแช่ไว้ในตู้เย็นเอาไว้ดื่ม
    สาเหตุที่ใส่พุทราผสมลงไปนั้น เป็นเพราะว่าการต้มกระเจี๊ยบแดงกินแบบเดี่ยวๆ เป็นระยะเวลานานๆ อาจจะทำให้ไตเสื่อมได้ จึงต้องมีพุทราจีนตากแห้งผสมลงไปด้วย เพื่อเป็นตัวแก้และเป็นตัวช่วยบำรุงไตไปด้วยในตัว


แหล่งอ้างอิง : เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร, สถาบันการแพทย์แผนไทย, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน), ศูนย์วิจัยและการจัดการความรู้ทางพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ (HISO), มูลนิธิหมอชาวบ้าน (รศ.ดร.สุธาทิพ ภมรประวัติ), เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข, ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, ฐานข้อมูลสมุนไพรแม่โจ้ (ชีวกโกมารภัจจ์) มหาวิทยาลัยแม้โจ้, รายการสาระความรู้ทางการเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์)